วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่นเมื่อเราออกแรงขับรถไปข้างหน้าจะมีแรงที่ต้านการเคลื่อนของรถซึ่งจะเกินขึ้นในทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของรถ เรียกว่าแรงเสียดทานนั้นเอง แรงเสียดทานนี้จะทำให้รถเคลื่อนที่ช้าลงหรืดหยุดนิ่ง

สูตรคำนวนแรงเสียกทาน

f = สัมประสิทธิของแรงเสียดทาน x แรงปฏิกิริยา

สัมประสิทธิของแรงเสียดทาน หมายถึง แรงเสียดทานเฉพาะแต่ละพื้นผิวของวัตถุ

แรงปฏิกิริยา หมายถึง แรงที่ต้านแรงกิริยา มีค่าเท่ากับ มวล x แรงดึงดูดของโลกหรือจะเขียนสูตรของแรงเสียดทานไหม่ได้ดังนี้

f = สัมประสิทธิของพื้นผิว x มวล x 10

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

แรงดันอากาศและของเหลว

แรงดันอากาศ คือแรงที่อากาศกระทำต่อวัตถุในทิศทางตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หมายถึงพื้นที่ที่ใดที่หนึ่ง มีหน่วยเป็นนิวตั้นต่อตารางเมตร มีการนำแรงดันอากาศไปใช้ประโยชน์ดังนี้

- หลอดฉีดยา

- ลูกยางดูดกระจก

- ปากหมึกซึม

- ขวดแรงดัน

- กาลักน้ำ

ความดันของเหลว คือแรงที่ของเหลวกระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ในทิศทางตั้งฉากกับวัตถุ เช่นในน้ำลึกจะมีแรงดันมากกว่าในน้ำตื้น เพราะในน้ำลึกจะมีแรงดันที่ของเหลวกระทำมากกว่าน้ำตี้นเช่นเดียวกับแรงดันอากาศ

ประโยชน์ของแรงดันของเหลว

- ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

- ใช้ในการหมุนกังหัน

- การสร้างเรือดำน้ำ

แรงลอยตัวของของเหลว คือ แรงที่ของเหลวพยุงวัตถุไว้ เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลว เช่นแรงลอยตัวที่น้ำกระทำต่อไม้ทำให้ไม้ลอยตัวได้เพราะแรงลอยตัวที่น้ำกระทำต่อไม้เท่ากับน้ำหนักของไม้ซึ่งมีพื้นผิว หรือแรงลอยตัวที่น้ำกระทำต่อก้อน

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

แรงและการเคลื่อนที่

แรงหมายถึง การออกแรงกระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ เช่นเร็วขึ้น ช้าลง การออกแรงกระทำเช่นแรงดึง แรงผลัก
การออกแรงดึงวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับแรงดึง
การออกแรงผลักวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับแรงผลัก
แรงลัพธ์ หมายถึงผลรวมของแรงตั่งแต่ 2 แรงขึ้นไป ถ้าเกิดในทิศทางเดียวกันจะรวมกัน แต่ถ้าเกิดในทิศทางตรงข้ามจะลบกัน
มวลและความหนาแน่น
มวล (m)หมายถึง ปริมาณเนื้อสารของวัตถุจะมีค่าคงทที่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
น้ำหนัก (W)หมายถึงปริมาณเนื้อสารของวัตถุที่รวมแรงดึงดูดของโลกแล้ว มีวิธีการคิดดังนี้
น้ำหนัก = มวล x แรงดึงดูดของโลก ( 10 m/s)
ความหนาแน่น หมายถึงปริมาณของมวลสารที่มีอยู่ใน 1 ปริมาตร เช่น กล่อง 2 ใบมีขนากหรือปริมาตรเท่ากันแต่น้ำหนักไม่เท่ากันจึงทำให้ความหนาแน่นของกล่องไม่เท่ากัน มีวิธีการคำนวนดังนี้
ความหนาแน่น=มวล หาร ด้วยปริมาตร
แบบทดสอบ
1. การออกแรงกระทำต่อวัตถุเพียง 1 แรง วัตถุจะเคลื่อนที่ในทิศทางใด.................................................................................................................................................................
2. แรงลัพธ์หมายถึง......................................................................................................................................
3. การดึงวัตถุด้วยแรง 2 แรงที่ตั้งฉากกันวัตถุจะเคลื่อนที่ในทางใด..............................................................
4. การออกแรงดึงวัตถุมากกว่า 1 แรงจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้กี่ทิศทาง.......................................................
5. ราวตากผ้าใช้ประโยชน์จากแรงลัพธ์อย่างไร............................................................................................
6. น้ำหนักของวัตถุจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง..................................................................................
7. เราใช้เครื่องมือชนิดใดในการหาค่าของมวล............................................................................................
8. การหาปริมาณของวัตถุใช้วิธีอะไรได้บ้าง.................................................................................................
9. ความหนาแน่นของวัตถุสัมพันธ์กับอะไรบ้าง............................................................................................
10. หิน และโฟมมีความหนาแน่นต่างกันอย่างไร.........................................................................................